ส่วนใหญ่แล้วโรคดาวน์ซินโดรมจะเกิดในกลุ่มคนที่มีลูกยาก หรือคู่รักที่มีอายุเยอะแล้ว ซึ่งกลุ่มคนพวกนี้จะทำให้เกิดภาวะดาวน์ซินโดรม หรือเด็กที่มีความผิดปกติทางด้านสมอง คือสมาธิช้ากว่าเด็กทั่วไปและหน้าตาของเด็กที่มีอาการผิดปกติ จะมีหน้าตาที่คล้ายๆกันทุกคน แต่พวกเขาสามารถหายจากกลุ่มโรคนี้ได้ เพราะสามารถพัฒนาสมองได้สามารถเรียนได้ตามปกติ ไม่ใช่เด็กพิการหรือปัญญาอ่อนแต่อย่างใด
พัฒนาการของโรคดาวน์ซินโดรม
ตอนคลอดออกมาแรกเกิดเราจะรู้ได้จากแพทย์เลยว่าลูกของเราเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ เพราะเด็กกลุ่มดาวน์เกิดมาจะมีขนาดลกตัวแตกต่างกว่าเด็กทั่วไปที่คลอด ลักษณะเหล่านี้จะเป็นลักษณะของเด็กที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรม โดยลักษณะของพวกเขาจะแตกต่างจากเด็กทั่วไป แต่จะมีใบหน้าที่คล้ายๆกันหมด และท่าทางการกระทำจะเหมือนๆกัน จะมีลักษณะดังนี้
ลักษณะตอนแรกเกิด
- ลำตัวสั้น
- น้ำหนักเบา
ช่วงอายุระหว่าง 1-3 ขวบ
- มีขนาดลำตัวเตี้ย
- ศีรษะมีขนาดเล็ก
- ตาเฉียงขึ้น
- ดั้งแบน
- ท้ายทอยแบน
- ใบหูเล็ก,ต่ำ
- รูหูส่วนนอก
- คอสั้น
- หน้าแบน
- ช่องปากแคบ
- ลิ้นยื่น
ขนาดส่วนของมือจะแตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป
- นิ้วมือสั้น
- นิ้วก้อยโค้งงอ
- มือแบนกว้าง
- เส้นลายมือตัดขวาง
- ช่องระหว่างนิ้วเท้ากว้าง
- กล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม
ซึ่งการเจริญเติมโตของพวกเขาจะช้ากว่าเด็กทั่วไป เพราะสมองของพวกเขามีอาการผิดปกติ หรือสมองทำงานช้าหลายคนเรียกพวกเขาว่าเด็กปัญญาอ่อน โดยเราสามารถพัฒนาอาการของพวกเขาโดยการ กระตุ้นในช่วงอายุ 2 เดือนแรกถึง 2 ขวบ ซึ่งในช่วงสองเดือนแรกให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยการให้เขาสามารถยืนด้วยตนเองได้ ช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด ถือว่าเป็นการกระตุ้นให้พัฒนาการของพวกเขาดีขึ้น
ถ้าทำในช่วงสองเดือนแรกถึงสองขวบจะช่วยได้มากและเกิดผลลัพธ์ที่ดีตามมา แต่โดยส่วนใหญ่แล้วในช่วงสามขวบถึงสี่ขวบเด็กกลุ่มนี้ สามารถเข้าไปเรียนหนังสือกับเด็กปกติได้ ถึงแม้ว่าพัฒนาการจะช้าแต่จะเป็นการกระตุ้นสมองของพวกเขา และปราสาทการรับรู้จะได้เพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะตามเพื่อนไม่ค่อยทันแต่พวกเขาก็สามารถทำงานส่งอาจารย์เหมือนเด็กทั่วไปได้ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ถ้าถูกการพัฒนาและการกระตุ้นพัฒนาการมาก่อน พวกเขาจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้มาก จะเป็นภาระต่อผู้ดูแลน้อยถ้าเราได้ทำการกระตุ้นพัฒนาการของเขามาในช่วงสองเดือนหลังจากคลอดออกมา นั้นแหละคือวิธีการทำให้พวกเขารับรู้ได้ไวขึ้นในระดับหนึ่งเป็นต้น