การรักษาโรคดาวซินโดมในปัจุบัน

มันคงเป็นเรื่องทำใจได้ยากหากบุตรของคุณเกิดมาพร้อมโรคนี้ แต่สิ่งที่จะต้องทำก็คือการเตรียมพร้อมในการดูแลเบื้องต้น และการรักษาในโรคดาวซินโดมนั้นจะเน้นในการตรวจสุขภาพประจำวัน ที่ช่วยในการพัฒนาการเรียนรู้ เฝ้าติดตามดูอาการผิดปกติเป็นระยะ พร้อมทั้งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยให้บุตรของคุณได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

การรักษาแบบขั้นต้นนั้น สามารถเริ่มโดยการทำตารางตรวจสุขภาพที่จะช่วยให้เฝ้าสังเกตอาการ และวางแผนรับมือเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคนี้จะมีปัญหาทางสุขภาพมากกว่าคนธรรมดามาก ในช่วงปีแรกจะต้องทำการรักษาอย่างถูกต้องกับทางโรงพยาบาล ทางแพทย์จะทำการตรวจสอบความผิดปกติโดยรวมของทางร่างกายที่อาจเกิดขึ้นได้ ควรปรึกษาและวางแผนการรักษาในอนาคตที่มีอยู่ 2 ช่วงที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่

ช่วงอายุที่ควรรับการรักษาตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 5 ปี

ในช่วงแรกของเดือน คุณจะต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง และทำการเรียนรู้กับกับโรคนี้โดยการปรึกษากับทางแพทย์ที่จะตอบคำถาม และให้ทางออกในการวางแผนในการรับมือทั้งสภาพจิตใจของคุณ และกระบวนการรักษาเบื้องต้น

  • เรียนรู้ที่จะบอกสมาชิกในครอบครัวถึงอาการของเด็ก
  • เด็กอาจจะเกิดความผิดปกติที่ใบหน้า และเกิดมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงในช่วงแรก
  • หาทางศึกษาเกี่ยวกับโรคดาวซินโดม ยิ่งรู้มากเท่าไหร่ก็สามารถดูแลได้ดีเท่านั้น
  • ในการรักษาแบบอื่น ๆ ที่ไม่ได้กระทำโดยโรงพยาบาลควรปรึกษาขอความเห็นจากแพทย์ก่อน
  • เดือนแรก ถึง 1 ปี วางแผนการรักษาสำหรับบุตร และพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก หลีกเลี่ยการเกิดไข้หวัด
  • การเจริญเติมโตของเด็กที่เป็นโรคดาวซินโดมจะมีพัฒนาการแบบเดียวกันกับเด็กทั่ว ๆ ไปเพียงแต่จะช้ากว่า
  • หาแรงสนับสนุนโดยการพบปะพูดคุยกับผู้ที่มีประสบการณ์เดียวกันเพื่อช่วยในด้านข้อมูล และกำลังใจ
  • วางแผนการเงินให้มั่นเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการรักษา

ช่วงอายุที่ควรรับการรักษาตั้งแต่ 5 ถึง 21 ปี

ในช่วงอายุ 1 ถึง 5 ปี จัดแผนการเรียน และการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ

  • ช่วงอายุ 3 ปี ให้หาโรงเรียนเตรียมสำหรับเด็กพิเศษหากคุณไม่สามารถหาได้ในพื้นที่ ควรใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญแทนอย่างการพูดบำบัด และการทำกายภาพบำบัด
  • พยายามสนทนา และทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความใกล้ชิดให้มากที่สุด
  • รักษาการกิน และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ในช่วงอายุ 5 ถึง 21 ปี สอนวิธีให้เด็กสามารถอยู่รวมในสังคมปกติ และเรื่องเพศศึกษา

  • เตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาในช่วงเข้าวัยรุ่น ที่อาจะสร้างปัญหาให้กับสภาพจิตใจ
  • ให้คำแนะนำในเรื่องเพศศึกษาที่เหมาะสม โดยเฉพาะลูกสาว หากคลอดบุตรออกมา ลูกที่เกิดจะเป็นหมั้น
  • ปรึกษาและเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เขี่ยวชาญเฉพาะด้าน

ในช่วงสำคัญสุดคือการเสียสละเวลาให้มากเพื่อช่วยในการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะของเด็ก ควรสอนทักษะจำเป็นในชีวิตประจำวันอย่างการทำความสะอาดบ้าน  การสวมเสื้อผ้า การใช้ช้อนซ้อมรับประทานอาหาร ฝึกฝนการพูดคุยช่วยให้เขาหาเพื่อนใหม่ในโรงเรียน จนในที่สุดเด็กจะได้ใช้ชีวิตและมีงานทำได้ในสังคม