อยากรู้ว่าเด็กในท้องเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ จะทำอย่างไรได้บ้าง

การที่จะมีครอบครัวที่สมบูรณ์แน่นอนว่าการมีลูกก็เสมือนกับการเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายให้กับครอบครัวได้อย่างดีที่สุด เพราะฉะนั้นการที่แม่คนหนึ่งกำลังตั้งท้องลูกอยู่นั้นเชื่อว่าแม่ทุกคนก็คงอยากให้ลูกที่จะออกมามีสุขภาพแข็งแรง มีร่างกายครบ 32 ประการ ทว่าขณะที่อยู่ในท้องเองการตรวจหาความผิดปกติต่างๆ ให้กับเด็กก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย และดาวน์ซินโดรมเองก็นับว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างอันตรายอย่างมาก ลองมาดูว่าถ้าหากคุณแม่อยากจะรู้ว่าลูกในท้องเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ จะต้องทำอย่างไรบ้าง

  1. การดูจากอายุและประวัติของแม่ที่ท้อง – ถ้าหากว่าคุณแม่เคยมีประวัติคลอดลูกออกมาเป็นดาวน์ซินโดรม โอกาสที่ลูกจะออกมาก็มีสูงไม่น้อย หรือถ้าหากคุณแม่คนไหนมีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไปแล้วท้อง ความเสี่ยงในการที่จะมีโครโมโซมผิดปกติ 1 ต่อ 200 ก็มีอยู่เช่นเดียวกัน แต่วิธีการนี้ในปัจจุบันถือว่าอาจจะเชื่อถือไม่ค่อยได้เท่าไหร่นัก
  2. การอัลตราซาวด์ – เป็นการวัดความหนาของน้ำที่ถูกสะสมอยู่บริเวณต้นคอของทารก ในช่วงอายุครรภ์ 10 – 14 เดือนโดยประมาณ ถ้าหากว่ามีความหนากว่าปกติก็จะมีความเสี่ยงสูงอยู่ไม่น้อย แต่ถ้าหากเป็นการอัลตราซาวด์ในช่วง 18 -20 สัปดาห์ ก็จะทำให้การบอกระดับแม่นยำมากขึ้น
  3. การตรวจเลือดคุณแม่ – เป็นการตรวจหาระดับสารชีวเคมีต่างๆ ที่ถูกสร้างจากทารก ซึ่งจากวิธีนี้ก็จะสามารถประเมินได้ว่าทารกในท้องมีสิทธิ์เป็นหรือไม่ และโดยปกติสามารถเลือกตรวจได้ 2 แบบ ประกอบไปด้วย
  • การตรวจในช่วงอายุครรภ์ 10-14 เดือน – จะเป็นการประเมินความเสี่ยงจากเกณฑ์อายุที่มาพร้อมกับระดับสารชีวเคมีในเลือดของแม่ ประกอบไปด้วย PAPP-A หรือ Free ?-hCG โดยอาจจะเป็นการตรวจพร้อมกับการอัลตราซาวด์เพื่อวัดระดับความหนาของน้ำที่ต้นคอทารกไปด้วยก็ได้
  • การตรวจในช่วงอายุครรภ์ 18-20 เดือน – จะเป็นการประเมินความเสี่ยงจากเกรฑ์อายุที่มาพร้อมกับระดับสารชีวเคมีในเลือดของแม่ ประกอบไปด้วย AFP,Free ?-hCG และ uE3 หรืออาจจะเรียกว่า triple screen รวมไปถึงอาจจะมี inhibin A เพื่อความมั่นใจด้วย

อย่างไรก็ตามจะมีอีก 1 วิธีการที่จะตรวจสอบได้อย่างชัดเจนที่สุดนั่นก็คือการตรวจโครโมโซมของเด็ก ซึ่งวิธีการก็คือจะใช้การเจาะน้ำคร่ำ หรือ การเจาะชิ้นรก เพื่อนำไปตรวจ ส่วนใหญ่แล้วมักจะต้องทำกับโรงพยาบาลใหญ่ๆ หรือโรงเรียนแพทย์เท่านั้น ค ซึ่งวิธีการเหล่านี้ก็นับว่าเป็นการตรวจหาความผิดปกติของเด็กในท้องเกี่ยวกับอาการดาวน์ซินโดรมว่าเด็กที่คลอดออกมานั้นจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้หรือไม่