พ่อแม่ทุกคนเมื่อจะมีสมาชิกใหม่เกิดขึ้นมาสิ่งแรกที่หวังไว้ก็คือ พวกเค้าต้องการเห็นลูกน้อยของพวกเค้าสามารถคลอดออกมาได้อย่างปกติ ปลอดภัย และไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย หนึ่งในภาวะดังกล่าวที่ไม่มีใครอยากเจอ โรคดาวน์ซินโดรม หากลูกน้อยเราเป็นก็อย่าเพิ่งเสียกำลังใจไป เรามีตัวอย่างบุคคลที่ประสบความสำเร็จของตัวเองแม้ว่าเป็นดาวน์ซินโดรมมาแนะนำกัน
เคล่า แมคคีน
อาการดาวน์ซินโดรม หลายคนอาจจะสงสัยว่าคนมีอาการเหล่านี้จะสามารถขึ้นไปทำงานกับคนทั่วไปได้หรือไม่ ตอบเลยว่าได้ เคล่า แมคคีน เป็นตัวอย่างชั้นดี เธอเป็นสมาชิกรัฐสภาแห่งแคปิตอลฮิล ไม่เพียงแค่งานการเมืองเธอยังทำงานหน้าที่อื่นด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ หน้าที่พิธีกรรายการ เคล่าส์ คอร์เนอร์ รายการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสมาชิกสภาพ และ คณะกรรมการสมาคมโรคดาวน์ซินโดรม เข้าไปเยี่ยมชมเธอได้ตามบล็อกของเธอ
อิซาเบลล่า สปริงโมลฮ์
แม้ดาวน์ซินโดรมจะเป็นโรค เป็นความผิดปกติที่ไม่มีใครอยากเป็น แต่บางคนก็มาพร้อมกับพรสวรรค์อันยอดเยี่ยมจากพระเจ้าด้วยเช่นกัน เธอคนนี้เป็นแบบนั้น ด้วยอายุเพียงแค่ 20 กว่าปี เธอได้เป็นเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าของตัวเองชื่อว่า ดาวน์ ทู เอกซาเบล แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังในประเทศกัวเตมาลา นอกจากนั้นความสำเร็จด้านยอดขายและผลงานอันสร้างสรรค์ ยังทำให้เธอได้รับการยกย่องให้เป็นสตรีผู้สร้างแรงบันดาลใจในปี 2016 จาก บีบีซี สำนักข่าวระดับโลกด้วย เธอถูกบันทึกว่าเป็นดีไซเนอร์ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรรม ระดับสากลคนแรกของโรค
ซูจีท ดีไซ
คนต่อไปจะคล้ายกัน แต่พรสวรรค์ของเธอที่มาพร้อมกับภาวะดาวน์ซินโดรมนั้นก็คือ ดนตรี เธอมีความสามารถทางด้านดนตรีที่ควบคุมเครื่องดนตรีได้ถึง 7 ชนิด เธอเรียนจบทางด้านดนตรีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกด้านดนตรีแห่งหนึ่งอย่าง เบิร์ก ไซร์ ฮิล มิวสิค อะคาเดมี่
คาเรน คาฟนีย์
เธอคนนี้ทำให้เรารู้ว่า การเป็นดาวน์ซินโดรมไม่สามารถจำกัดความสามารถและความต้องการบางอย่างได้ บางคนที่เป็นโรคนี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้เล่นน้ำ เพื่อความปลอดภัย แต่เธอสามารถเรียนว่ายน้ำ ฝึกว่ายน้ำได้ แค่นี้ก็เก่งแล้ว ยังไม่พอเธอยังเข้าร่วมทีมว่ายน้ำของอังกฤษ เพื่อลงว่ายน้ำไกลถึง 9 ไมล์เพื่อระดมทุนการกุศลอีกด้วย เธอพิสูจน์ให้เราและคนทั่วโลกเห็นว่าขีดจำกัดไม่สามารถมาปิดกั้นเธอและเด็กดาวน์ซินโดรมได้
จากแรงบันดาลใจเหล่านี้ พ่อแม่ ผู้ปกครองที่ดูแลลูกหลานที่เป็นดาวน์ซินโดรมอยู่ อยากให้ลองไปหาอ่านเรื่องของพวกเค้าเพิ่มเติม รับรองว่าจะมีกำลังใจและแนวทางในการดูแลผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมขึ้นอีกมากทีเดียว